วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

การอ่านหนังสือก่อนสอบ

รวมเทคนิคการอ่านหนังสือก่อนสอบ


เทคนิคการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบให้ได้ผล ใน 1 เดือน

1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ

2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่

3.ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน

4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัด ก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง

6.ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใครกำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที


******************************************
การจัดตารางการอ่านหนังสือ
จริงๆ แล้วการอ่านหนังสือตอนที่พี่อ่านเตรียมสอบ ไม่ได้จัดตารางเลยครับ เพราะเคยทำแล้ว ทำไม่ได้ แล้วจะอ่านให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ตอบได้คำเดียวครับ “อ่านเมื่ออยากอ่าน” แต่ต้องไม่ใช่ว่ามีแต่ไม่อยากอ่านนะ ต้องทำให้อยากอ่านบ่อยๆ อยากอ่านมากๆ อยากรู้มากๆ เพื่อให้การอ่านมีประสิทธิภาพ ครับ อ่านทุกเวลาที่สามารถทำได้นั่นแหละดีที่สุด เพื่อนพี่เคยติดสูตรไว้ในห้องน้ำ พกสูตรติดตัว พกโน้ตย่อไว้ที่กระเป๋าเสื้อตลอดเวลา บางคนมีหนังสือติดตัวทุกที่ เพื่อให้ อยากอ่านเมื่อไร ก็หยิบขึ้นมาอ่านได้ทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องจัดตาราง

เอาละ แล้วถ้าจะจัดตารางเวลาอ่านหนังสือ จะทำยังไงดี พี่ขอว่าเป็นข้อๆ เลยดีกว่าครับ
1. เลือกเวลาที่เหมาะสม
เวลาที่เหมาะสมหมายความว่า เวลาที่น้องต้องการจะอ่าน เวลาที่ว่างจากงานอื่น เวลาที่อยากจะอ่านหนังสือ หรือเป็นเวลาที่อ่านแล้วได้เนื้อหามากที่สุด เข้าใจมากที่สุด เวลาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่านตอนเช้าตรู่ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืนก่อนนอน บางคนชอบอ่านเวลากลางวัน แล้วแต่การจัดสรรเวลาของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน น้องต้องเลือกดูเวลาที่เหมาะสมของตัวเองนะครับ การจัดเวลาต้องให้ได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมงครับ วันนึงถ้าอ่านหนังสือแค่วันละ 2 ชั่วโมงน้อยมาก
2. วางลำดับวิชาและเนื้อหา
ขั้นตอนต่อมา คือ เลือกวิชาที่จะอ่าน มีหลักง่ายๆ คือ เอาวิชาที่ชอบก่อน เพื่อให้เราอ่านได้เยอะๆ และอ่านได้เร็ว ควรเลือกเรื่องที่ชอบอ่านก่อนเป็นอันดับแรก จะได้มีกำลังใจอ่านเนื้อหาอื่นต่อไป ไม่แนะนำวิชาที่ยาก และเนื้อหาที่ไม่ชอบนะครับ เพราะจะทำให้เสียเวลาเปล่า การอ่านหนังสือควรอ่านให้ได้ตามที่เราวางแผนเอาไว้ วิธีการก็คือ List รายการหรือเนื้อหา บทที่จะอ่านให้หมด จากนั้นค่อยเลือกลำดับเนื้อหาว่าจะอ่านเรื่องใดก่อนหลัง แล้วค่อยลงมืออ่าน
3. ลงมือทำ
ยังไง ถ้าไม่มีข้อนี้ก็ไม่มีทางสำเร็จ การลงมือทำคือการลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เหมือนกับที่พี่เคยเขียนไว้ว่า อย่าฝากอนาคตของตัวเองไว้กับความขี้เกียจของวันนี้ บางคนลงมือทำ แต่ไม่จริงจัง ก็ไม่ได้นะครับ ขอให้นึกถึงชาวนาแล้วกัน ถ้าลงมือทำนาเริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ แล้วทิ้งค้างไว้แต่ไม่ทำให้สำเร็จ ไม่ดูแลจนกระทั่งเก็บเกี่ยว หรือทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว การทำนาก็จะไม่สำเร็จ เราก็จะไม่มีข้าวกิน ดังนั้น ขอให้น้องๆ “ทำอะไร ทำจริง” แล้วกันนะครับ ทำให้ได้จริงๆ
4. ตรวจสอบผลงาน
ผลของการอ่าน ดูได้จากว่า ทำข้อสอบได้หรือไม่ ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบได้ ก็แสดงว่าอ่านรู้เรื่อง อ่านเข้าใจ ได้เนื้อหาจริงๆ แต่ถ้าอ่านแล้วทำข้อสอบไม่ได้ ก็ต้องกลับไปทบทวนใหม่ พี่ขอแนะนำว่า อ่านแล้วต้องจดบันทึกไว้ด้วยนะครับ จะได้รู้ว่า เราอ่านไปถึงไหนแล้ว และอ่านไปได้เนื้อหาอะไรบ้าง การจดบันทึก ก็คือการทำโน้ตย่อนั่นแหละ ทำสรุปไว้เลยว่าอ่านอะไรไปแล้วบ้าง เก็บไว้ให้มากที่สุด จะได้เป็นผลงานของตัวเอง เก็บไว้อ่านเมื่อต้องการ เก็บไว้อ่านตอนใกล้สอบ

อยากจะบอกว่าช่วงนี้ยังมีเวลาเพียงพอสำหรับการเริ่มต้นที่ดี ยังไม่สายเกินไปหากคิดจะเริ่มอย่างจริงจัง อย่าอ่านเพียงแค่ได้เปิดหนังสือ อย่าโกหกตัวเองว่าได้อ่านแล้ว อย่าหลอกตัวเอง อย่าหลอกคนอื่น ความรู้ไม่สามารถลอกเลียนแบบกันได้ หลอกคนอื่นอาจหลอกได้ หลอกตัวเองไม่ได้แน่นอน คนที่รู้จักเรามากที่สุดก็คือ ตัวเราเองนี่แหละ ตั้งใจทำ ทำเพื่ออนาคตของตัวเองนะครับ ขอให้โชคดีประสบความสำเร็จครับ


************************************************
เคล็ดลับสรุปๆการอ่านหนังสือสอบ
แหมเพื่อนคะใกล้สอบกันแล้วใช่ไหมเอ่ย หิหิ แต่บ้างคนยังไม่ได้เริ่มอ่านหนังสือเลย 10 เคล็ดลับง่ายๆ รวบรัด
1.ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ
2.นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3.อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุปไม่เปิดหนังสือ
4.เช็คคำตอบ
5.อ่านอีกหนึ่งรอบ
6.สรุปใหม่เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7.ถ้าทำเป็นMind Mappingจะอ่านง่ายขึ้น
8.มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ
9.ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆอย่างน้อย 2ครั้ง/คาบ
10.ก่อนวันสอบห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเทียงคืน สมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

โจทย์ 2 ข้อ

1. วัตถุก้อนหนึ่งมวล  80  N   ผูกไว้กับเชื่อเบายาว 1 เมตร   เมื่อออกแรงดึงวัตถุในทิศขนานกับพื้นระดับจนเชื่อกทำมุม  30 0  กับแนวดิ่ง  จงหาขนาดของแรงดึง  และตึงในเส้นเชือก 




2. วัตถุ หนัก 5N วางอยู่บนพื้น ราบมีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน 0.5 ถ้าออกแรงดึงวัตถุนี้ในทิศทำมุม 60 0 กับพื้นระดับปรากฏว่าวัตถุเริ่มจะเคลื่อนที่พอดี จงหาขนาดของแรงดึง  และแรงปฎิกิริยาของพื้น 



วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

การดูแลกล้วยไม้

การดูแลรักษากล้วยไม้
การให้น้ำ
          น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น
           น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้
           - น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
           - น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่ จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
           วิธีการการให้น้ำ
           วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้
           - จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น
           - ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก
           - ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้
           - สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
           - สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณ ที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด
           
เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ
           การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วน ต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำ อาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหล หลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้ 

การให้ปุ๋ย           ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูด ปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก
          นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ

          ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้
          โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า
          - ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้
          - ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ
          - ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและราก กึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา
          วิธีการให้ปุ๋ย           ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและ เลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ
          วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
          - รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษา ได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวก ขึ้น
          - พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการ กระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป
          - วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไป กับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของ ภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้
          - ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจก ใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถาง กล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี
          - ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความ เข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้ กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย
         
เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย
          เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้าง ความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จาก ปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้

การเก็บ เกี่ยว           เพื่อให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี ผู้ปลูกต้องกำหนดวันตัดดอกให้แน่นอน แล้วจัดตารางใส่ปุ๋ย -ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม หากให้ปุ๋ยก่อนตัดดอก 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพดอกและอายุการปักแจกันลดลง ช่วงเวลาตัดดอกควรตัดในช่วงเข้ามืดโดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อหรือตัด ด้วยกรรไกร โดยต้องทำ ความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส ลักษณะของช่อดอกที่สามารถตัดได้ในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกต้องบาน 3/4 ของช่อดอก, ออนซิเดียมตัดในระยะเหลือดอกตูมที่ปลายช่อ 1-2 ดอก แวนด้า และแอสโคเซนด้า ตัดดอกเมื่อดอกบานหมดช่อ ส่วนอะแรนด้า, ม๊อคคาร่า ตัดดอกเมื่อดอกบานเกือบหมดช่อหรือหมดช่อ

โรคที่สำคัญของกล้วยไม้

โรคและแมลงที่สำคัญของกล้วยไม้
1. โรคเน่าดำหรือโรคยอดเน่าหรือโรคเน่าเข้าไส้
          เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora สามารถเข้าทำลายกล้วยไม้ได้ทุกส่วน เข้าทำลายรากทำให้รากแห้งมีผลทำให้ใบเหลืองและร่วง ถ้าเป็นที่ยอด ยอดจะเน่าเป็นสีน้ำตาลหากเป็นรุนแรงเชื้อจะลามเข้าไปในลำต้น ซึ่งเมื่อผ่าดูจะเห็นในลำต้นมี สีดำเป็นแนวยาว ส่วนอาการที่ดอกบริเวณปากดอกและก้านดอก เหี่ยวสีน้ำตาล ถ้าเป็นรุนแรงดอกจะหลุดร่วงจากช่อ โรคนี้มักแพร่ระบาดมากในฤดูฝนหรือในสภาพอากาศมีความชื้นสูง
          การ ป้องกันกำจัด ไม่ควรปลูกกล้วยไม้แน่นเกิน เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้แยกออกไปเผาทำลายทิ้งถ้าเป็นกับกล้วยไม้ที่โตควรตัด ส่วนที่เป็นโรคออกแล้วใช้สาร เคมีป้าย เช่น ริโดมิลสลับกับไดเทน เอ็ม 45

2. โรคดอกสนิมหรือจุดสนิม           โรคนี้เป็นปัญหามากเพราะกล้วยไม้อาจแสดงอาการระหว่างการขนส่งได้ เกิดจากเชื้อรา Curvularia eragrostidis พบที่กลีบดอกกล้วยไม้ โดยเริ่มแรกเป็นจุด ขนาดเล็กสีน้ำตาลอมเหลือง จุดขยายใหญ่มีสีเขียวเข้มคล้ายสนิม โรคนี้ระบาดได้ดีในช่วงฤดูฝนหรือสภาพที่มีน้ำค้างลงจัด
          การ ป้องกันกำจัด รักษาความสะอาดแปลง อย่าปล่อยให้ดอกกล้วยไม้บานโรยคาต้น เก็บดอกที่เป็นโรคนี้ออกให้หมดและเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมโรคและ ฉีดพ่นด้วยสารเคมีประเภทไดเทน เอ็ม 45 ไดเทน เอล เอฟ หรือ มาเนกซ์ โดยในช่วงฤดูฝนควรฉีดพ่นให้ถี่ขึ้น

3. โรคใบปื้นเหลือง
         
เกิดจากเชื้อ Pseudocercospora dendrobii มักเกิดกับใบที่อยู่โคนต้น โดยใบจะมีจุดกลมสีเหลือง เมื่อเป็นมาก ๆ จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นเหลืองตามแนว ยาวของใบ เมื่อพลิกดูใต้ใบจะเห็นกลุ่มผงสีดำ และใบจะเป็นสีน้ำตาลหลุดร่วงจากต้น โรคนี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน-ฤดูหนาว 

          การป้องกันกำจัด เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน ไดเทน เอ็ม 45 หรือ เบนเลท ทุก 7-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

4. โรคใบจุด
          เกิดจากเชื้อรา Phyllostictina pyriformis เกิดได้ตลอดปีลักษณะอาการจะแตกต่างกันไป เช่น แวนด้า แผลจะมีลักษณะเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวยตรงกลาง แผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาล เกษตรกรมักเรียกว่าโรคขี้กลาก ในสกุลหวายแผลจะมีจุดกลมสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน เกิดได้ทั้งใบบนและใบล่าง
          การป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย และฉีดพ่นด้วยยาประเภทคาร์เบนดาซิม เช่น มัยซิน, ไดเทน เอ็ม 45 หรือไดเทน แอล เอฟ

5. โรคแอนแทรกโนสหรือโรคใบไหม้
         
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp. พบได้ที่ปลายใบและกลางใบ ลักษณะเป็นแผลสีน้ำตาลเป็นวงเรียงซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น และมีกลุ่มของเชื้อราเป็นสีดำเกิดขึ้นบนวง 

          การป้องกันกำจัด รวบรวมใบที่เป็นโรคทิ้ง และฉีดพ่นด้วยไดเทน เอ็ม 45 แคบเทน เดอโรซาล

6. โรคต้นเน่าแห้ง
         
เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii พบมากบริเวณรากหรือโคนต้น ซึ่งจะผุเปื่อย ถ้าอากาศชื้นมาก ๆ จะมีเส้นใยสีขาว และมีเม็ดกลม ๆ คล้ายเมล็ดผักกาดเกาะอยู่ตามโคนต้น บางครั้งจะแสดงอาการที่ใบทำให้ใบเน่าเป็นสีน้ำตาล เมื่ออากาศแห้งจะเหี่ยวและร่วงตาย ไปในที่สุด มักระบาดในฤดูฝน 

          การป้องกันกำจัด เก็บรวบรวมใบกล้วยไม้ที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้ง และราดทับหรือฉีดพ่นด้วย เทอราโซล หรือ ไวตาแวกซ์

7. โรคเน่าเละ
         
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas gladioli อาการเริ่มแรกจะเป็นจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กบนใบหรือหน่ออ่อน ลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสี น้ำตาลและฉ่ำน้ำ และต้นกล้วยไม้จะเน่าตายทั้งต้น 

          การป้องกันกำจัด ตัดหรือแยกส่วนที่เป็นโรคออกนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปลูกต้นกล้วยไม้ให้แน่นเกินไป จะทำให้อากาศระหว่างต้นกล้วยไม้ไม่ถ่ายเท เกิดความชื้นสูงซึ่งง่ายต่อการเกิดโรค และควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น แอกริมัยซิน

8. โรคกล้วยไม้ที่เกิดจากเชื้อไวรัส
         
พบระบาดทั่วไปในแหล่งปลูกกล้วยไม้ในปัจจุบัน เกิดจากเชื้อไวรัส Tobacco Mosaic Virus Orchid Strain (TMV-O), Cymbidium Mosaic Virus (CyMV) ลักษณะอาการที่ปรากฎแตกต่างตามชนิดของเชื้อไวรัสและชนิดของกล้วยไม้ โดยมีลักษณะที่สังเกตได้ เช่น ใบด่างสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวเข้ม ยอดบิด ยอดจะม้วนงอ ช่วงข้อจะถี่สั้น การเจริญเติบโตลดลงแคระแกรน ช่อดอกสั้น แข็งกระด้าง ขนาดดอกเล็ก ถ้าเป็นมากกลีบดอกจะมีสีซีดบริ เวณส่วนดอกด่าง และ ดอกมีขนาดเล็ก 

          การป้องกันกำจัด เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น มีด กรรไกร ดังนั้น ต้องทำความสะอาดเครื่องมือให้สะดวก หมั่นตรวจ กล้วยไม้ถ้าพบอาการผิดปกติให้แยกออกแล้วนำไปเผาทำลายเพื่อกำจัดเชื้อ และในปัจจุบันการขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำให้ได้กล้วยไม้ ที่ สมบูรณ์ แข็งแรง และปลอดไวรัส จึงช่วยลดปัญหานี้ได้

การขยายพันธุ์กล้วยไม้

การขยาย พันธุ์กล้วยไม้
     ก. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแตกกอ (Sympodial) ทำได้หลายวิธี คือ
          1. การตัดแยกลำหลัง กล้วยไม้ที่จะตัดแยกควรมีลำลูกกล้วยอย่างน้อย 4 ลำ ใช้มีดหรือกรรไกรตัดกิ่งชนิดใบบางสอดเข้าไประหว่างลำลูกกล้วยตัดให้ ขาด และใช้ปูนแดงทาแผนให้ทั่ว ลำหลังที่ถูกตัดขาดจะแตกหน่อเป็นลำใหม่ขึ้น เมื่อลำใหม่นี้เริ่มมีรากโผล่ก็ยกออกปลูกได้
          2. การตัดชำ ใช้กับกล้วยไม้สกุลหวายที่ตาที่โคนลำแห้งตายไปแล้ว โดยนำลำหลังของหวายที่ตัดใบ ตัดรากออกหมดมาปักชำให้โคนลำฝังไปในทรายหยาบประมาณ 2-3 ซม. ห่างกัน 4-5 ซม. เก็บในที่มีแสงแดดค่อนข้างจัด รดน้ำให้โชก ตาที่อยู่ใกล้ปลายลำจะแตกเป็นลำใหม่ เรียกว่า ตะเกียง เมื่อลำ ตะเกียงเริ่มเกิดรากก็ตัดเอาไปปลูกได้
          3. การตัดแยกลำหน้า ใช้มีดหรือกรรไกรตัดแยกลำหน้า 2 ลำติดกันแล้วนำไปปลูกได้เลย ซึ่งต่างจากการตัดแยกลำหลังที่ต้องปล่อยทิ้งไว้ให้แตกหน่อใหม่ จึงจะนำไปปลูกได้ ระยะเวลาที่เหมาะสำหรับตัดแยกลำหน้า คือ เมื่อลำหน้าสุดเริ่มมีรากและรากยาวไม่เกิน 1 ซม.
     ข. การขยายพันธุ์กล้วยไม้ประเภทแวนด้า (Monopodial)
          1. การตัดยอด ถ้าเป็นพวกปล้องถี่ เช่น แอสโคเซนด้า, แวนด้าใบแบนยอดที่ตัดต้องมีรากติดมาอย่างน้อย 1 ราก ส่วนพวกข้อห่าง เช่น แมลงปอ อะแรนดา ควรให้รากติดมา 2 ราก และตอที่เหลือต้องมีใบติดอยู่เพื่อให้สามารถแตกยอดใหม่ได้
          2. การตัดแยกแขนง กล้วยไม้ประเภทนี้สามารถแตกหน่อหรือแขนงที่กลางต้นได้ จะตัดแยกเมื่อหน่อหรือแขนงมีใบ 2-3 คู่ และมีรากโดยตัดให้ชิดต้นแม่
          นอกจากนี้แล้วชาวสวนยังนิยมใช้ต้นกล้วยไม้ที่ขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อ เพราะการขยายพันธุ์วิธีนี้ ทำให้ได้ต้นที่มีลักษณะเหมือนต้นแม่ ในปริมาณมากโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น และเป็นต้นที่ปลอดโรค

การปลูก กล้วยไม้          การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้น นอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน

โรงเรือนปลูกกล้วยไม้          การสร้างโรงเรือนมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะ กับการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ และเพื่อจัดวาง ต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบ สะดวกแก่การทำงาน โดยสร้างหลังคาโรงเรือนเพื่อ พรางแสงให้เหลือ 50-70% ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด (ตารางที่ 1) โครงสร้างของโรงเรือนควรแข็งแรง มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป
ในปัจจุบันนิยมสร้างโรงเรือน 2 แบบคือ

1. สร้างโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ และใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำหลังคา
โครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเสาคอนกรีตหรือ แป๊ปน้ำ ฝังลึกในดิน 50 ซม. โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักเบาใช้ได้ง่าย และมีราคาถูกโดยขึงให้ตึงและยึดติด กับลวดให้เรียบร้อย

ตารางที่ 1 ลักษณะโรงเรือนของกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ
สกุล
แวนด้
หวาย
ออนซีเดียม
แคทลียา
อะแรนด้
ความสูงของโรงเรือน (เมตร)
%แสง
การ วางต้นในเรือน
3.5-4
50-60
แขวน
2.5-3.5
50-60
วางบนโต๊ะ
2.5-3.5
50
วางบนโต๊ะ
3.5-4
50
แขวนหรือ
วาง บนโต๊ะ
2.5
50-70
วางบนโต๊ะ
หรือลงแปลง
พื้นที่โรงเรือนควรปูทรายและใช้แผ่นซีเมนต์ปูทาง เดินเพื่อไม่ให้น้ำขังและสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ส่วนโต๊ะวางกล้วยไม้ ควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 15-20 เมตร แล้วแต่ขนาดของโรงเรือนและเว้นทาง เดินกว้าง 1-1.2 เมตร ราวแขวนซึ่งใช้กับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้าอยู่ในระดับสูงจากพื้นประมาณ 2.5 เมตร แต่ละราวห่างกัน 40-50 ซม. และทุก ๆ 4 ราวควรเว้นทางเดินกว้างประมาณ 1 เมตร
วัสดุปลูกกล้วยไม้ที่มีระบบรากกึ่งอากาศ เช่น หวาย ออนซีเดียม และ Cattleya ต้องใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดีและไม่อุ้มน้ำจนแฉะ หาได้ง่าย ราคาถูก และมีอายุใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี เช่น กาบมะพร้าว หรือ แท่งอัดกาบมะพร้าว โดยนำต้นกล้วยไม้ผูกติด กับไม้ไผ่ปักบนเครื่องปลูก หรืออาจใช้วิธีขึงลวดตามความยาวโต๊ะๆ ละ 4 ราว แล้วผูกต้นติดกับราว เพื่อยึดไม่ให้ต้นล้มและให้รากเกาะติด เครื่องปลูกได้เร็ว ไม่ควรปลูกอัดกันแน่นไปและทำให้ช่อดอก กล้วยไม้ที่ได้มีดอกลดลงด้วย ตลอดจนเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง
สำหรับกล้วยไม้ประเภทรากอากาศ เช่น แวนด้า ช้าง กุหลาบ เครื่องปลูกที่ใช้ควรมีความทนทานไม่ผุเร็ว เป็นวัสดุที่หาง่ายมีราคาถูกและมีสภาพเหมาะ กับการเจริญและแผ่ขยายของระบบราก วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ อิฐ กระถางแตก และถ่าน แล้วปลูกในกระเช้าไม้สักหรือกระถางดินเผาเจาะรูด้านข้างขนาด 5-6 นิ้ว โดยวางต้นกล้วยไม้ลงกึ่งกลางของภาชนะปลูกให้โคนต้นอยู่เหนือกระถาง 2-3 ซม. ใส่วัสดุปลูกจนเต็มภาชนะปลูกใช้ลวดเกี่ยวภาชนะแขวนในโรงเรือน
การย้ายต้นกล้วยไม้ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อลง ปลูกในภาชนะ           เมื่อกล้วยไม้ในขวดมีรากและใบสมบูรณ์จึงนำออกจากขวดล้างวุ้นออกด้วยน้ำสะอาด แล้วปลูกลงในกระถางขนาดปากกว้าง 3.5-4.5 นิ้ว กระถางละ 25-40 ต้น เรียกว่ากระถางหมู่ โดยใช้ถ่านและออสมันด้าเป็นเครื่องปลูก เนื่องจากขณะลูกกล้วยไม้อยู่ในขวดจะได้รับสภาพที่มีความชื้นสูงมาก เมื่อนำออกจากขวดในระยะแรกจึงต้องปลูกเลี้ยงในสภาพที่มีความชื้นสูงและอับลม เช่น ตู้ที่คลุมด้วยพลาสติกใส รดน้ำให้ชุ่มปิดไว้ 2 วัน หลังจากนั้นจึงปิดฝาเฉพาะกลางวัน เปิดกลางคืนอีก 2 วัน แล้วเปิดฝาออกเลย 3 วัน จึงนำออกจากตู้พลาสติก วางไว้ในเรือนกล้วยไม้จนเจริญเติบโตได้ขนาด คือ ถ้าเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้า ควรมีใบยาว 5-7 ซม. ส่วนกล้วยไม้ประเภทแตกกอควรมีลำลูกกล้วยสูง 5-7 ซม. จึงย้ายลงสู่ภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

ฟิสิกส์ค่ะ

สมดุลกล

สภาพ สมดุล (Equilibrium) คือ สมดุลที่เกิดขึ้นในขณะที่

วัตถุอยู่ในสภาพ นิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว


สมดุลสัมบูรณ์
absolute equilibrium

สภาวะที่วัตถุที่อยู่ทั้งในสมดุลต่อการเลื่อนที่ และสมดุลต่อการหมุน

สมดุล ของแรง 3 แรงเมื่อมีแรง 3 กระทำต่อวัตถุ วัตถุจะสมดุลได้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขคือ
1. แรงทั้งสามต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2. แรงลัพธ์ = 0
3. แนวแรงทั้งสามต้องพบกันที่จุดเดียวกัน

โมเมนต์ ของแรงคู่ควบ
moment of couple

โมเมนต์ของแรงคู่ควบใด ๆ มีขนาดเท่ากับผลคูณของแรงใดแรงหนึ่งกับระยะทางตั้งฉากระหว่างแนวแรงทั้งสอง ซึ่งทิศการหมุนขึ้นอยู่กับทิศของแรงคู่ควบนั้น


เสถียรภาพของ สมดุล(Stability of balance)

เสถียรภาพของสมดุล เสถียรภาพของสมดุลสามารถแบ่งได้ดังนี้
1.สมดุลเสถียร คือสภาพสมดุลของวัตถุซึ่งมีลักษณะที่วัตถุสามารถกลับสู่สภาพสมดุลที่ตำแหน่ง เดิมได้ โดยเมื่อแรงกระทำกับวัตถุที่อยู่ในสมดุลเสถียร จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่สูงกว่าระดับเดิม แต่เมื่อเอาแรงออก วัตถุจะกลับสภาพเดิม
2. สมดุลสะเทิน คือสภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะสามารถคงสภาพสมดุลอยู่ได้ โดยมีตำแหน่งสมดุลที่เปลี่ยนไป
3. สมดุลไม่เสถียร คือ สภาพสมดุลของวัตถุที่อยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้

Dark Energy...

12795

ผลงานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่า dark energy มีการประพฤติตัวสอดคล้องกับ “ค่าคงที่ของจักรวาล” (Cosmological Constant) ที่ไอน์สไตน์เคยทำนายไว้ ซึ่งความแม่นยำของการสอดคล้องกันนี้อยู่ในช่วง 10 เปอร์เซ็นต์

จากโครงการความร่วมมือ SuperNova Legacy Survey ซึ่งเป็นความร่วมมือสำรวจที่ใหญ่ที่สุดทางการสำรวจ supernova ที่เคยมีมา ได้ทำการวัดระยะทางของ Supernovae ที่ไกลมากๆ อันเพื่อจะช่วยให้นักจักรวาลวิทยา (Cosmologist) สามารถบ่งบอกถึง ระยะทางของสิ่งต่างๆ ของจักรวาลได้ ผลการสำรวจครั้งแรกของโครงการนี้ ได้ระบุหลักฐานที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือต่อแบบจำลองทางจักรวาลวิทยา ทำให้เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้ เราอาจจะได้เข้าใจธรรมชาติของ dark energy มากยิ่งขึ้น

SuperNova Legacy Survey เป็นโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ ที่มีนักวิจัยในโครงการกว่า 40 คนและใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ตั้งอยู่ตามที่ต่างๆทั่วโลก โดยมีเป้าหมาย เพื่อค้นหา supernovae ที่เชื่อว่ามีอยู่หลายร้อยอันพร้อมกับวัดระยะทางของมัน โครงการนี้มีการเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 และจะกินระยะเวลาราวๆ 5 ปี

จน ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยของโครงการนี้ได้ประสบความสำเร็จในการวัดระยะทางของ supernova กว่า 70 ดวงที่มีการระเบิดขึ้นในช่วงเมื่อประมาณ 2 ถึง 8 พันล้านปีก่อน

การวัดระยะทางของ supernova ที่อยู่ไกลมากๆ เป็นกุญแจสำคัญในการศึกษาด้านจักรวาลวิทยา

Supernova คือดวงดาวที่กำลังระเบิดซึ่งจะมีความสว่างพอๆกันไม่ว่ามันจะอยู่ที่ใดของ กาแล็กซี่ จากการสังเกตดวงดาวที่กำลังระเบิดพวกนี้ จะช่วยให้สามารถวัดระยะทางของพวกมันได้ พวก supernova เหล่านี้จึ้งได้ถูกเรียกอีกคำว่า “standard candle” ที่ใช้สำหรับวัดระยะทางที่ยาวมากๆ ของเอกภพ

การวัดระยะทางที่ยาว มากๆของเอกภพช่วยเปิดเผยปรากฏการณ์ต่างๆที่น่าสนใจ ได้อย่างไม่คาดคิด ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 1929 นักดาราศาสตร์สัญชาติอเมริกันที่ชื่อ Edwin Hubble ได้ทำการวัดระยะทางที่ไกลมากๆของเอกภพและบังเอิญค้นพบว่า เอกภพมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความคิดเก่าๆ ที่ว่าด้วย เอกภพมีอัตราการขยายตัวน้อยลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากแรงดึงดูดระหว่างมวล (gravitational attraction) ของดวงดาวต่างๆในเอกภพ ถูกหักล้างไป และทำให้นักดาราศาสตร์ในสมัยนั้นต่างก็ประหลาดใจเมื่อพบว่าสิ่งที่คิดและ ทำนายไว้ต่างๆก่อนหน้านี้ ไม่ถูกต้องเสียแล้ว

ต่อมานักทฤษฎีทาง จักรวาลวิทยาต่างก็ได้พยายามที่จะอธิบายว่า การเกิดอัตราการเร่งตัวของการขยายตัวของเอกภพเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร ด้วยการสร้างแบบจำลองต่างๆ ขึ้นมากมาย โดยที่แบบจำลองเกือบทุกอันต่างก็ ใช้ทฤษฎีความเป็นอยู่ของ “dark energy” ที่เชื่อว่าเป็นแรงลึกลับที่ คอยทำหน้าที่ต้านทานแรงจากการดึงดูดระหว่างมวล

จนปัจจุบัน ไม่มีใครเข้าใจถึงธรรมชาติที่แท้จริงของ dark energy แต่ว่าเราสามารถพยายามที่จะศึกษาถึงคุณสมบัติต่างๆ และธรรมชาติการประพฤติตัวของมันได้

ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากการสำรวจทางจักรวาลวิทยาได้สนับสนุนทฤษฎีที่ว่า เอกภพประกอบไป ด้วย สสาร 25% และdark energy 75% ซึ่งสสารต่างๆจะไม่เหมือนกับ dark energy ตรงที่ สสารมีการขยายตัวและแผ่กระจายไปตามการขยายตัวของเอกภพ แต่ทว่า dark energy จะยังคงมีสภาพเดิมอยู่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

จาก ข้อมูลชิ้นใหม่ที่ทางโครงการ SuperNova Legacy Survey ที่กำลังจะตีพิมพ์ขึ้นนั้น ได้เพิ่มความน่าเชื่อถือของการคงสภาพเดิมอยู่ของสถานะของ dark energy มากยิ่งขึ้น

อันที่จริงแล้ว dark energy ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้มีการทำนายถึงความเป็นอยู่ของมันไว้ก่อนหน้านี้ แล้วโดยไอน์สไตน์ จากการที่เข้าเสนอ “ค่าคงที่ของจักรวาล” เข้าไปในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Relativity) “ค่าคงที่จักรวาล” นี้มีความจำเป็นที่ต้องใส่เข้าไปในสมการเพื่อให้สอดคล้องกับความคิดสมัยนั้น ที่เชื่อว่าเอกภพมีการอยู่นิ่ง (static universe) และไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อมีการค้นพบว่า เอกภพมีการขยายตัวขึ้นเรื่อย ทำให้ไอน์สไตน์ต้องยกเลิกความคิดของ “ค่าคงที่จักรวาล” และนำมันออกจากสมการแบบจำลองธรรมชาติของเอกภพ

Einstein ได้ยอมรับว่า “เป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่” จากการที่เขาได้ใส่ค่าคงที่ของจักรวาลเข้าไปในสมการ

แต่จากผล การวิเคราะห์ล่าสุดของโครงการ Legacy Survey ได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การคงไว้ซึ่ง “ค่าคงที่ของจักรวาล” นั้นเป็นการดีที่สุดเพื่อที่จะให้สมการของแบบจำลองธรรมชาติของเอกภพสอดคล้อง กับผลที่ได้จากการทดลอง

เมื่อทางโครงการได้เก็บข้อมูลจนเสร็จสิ้น ตามแผนที่วางไว้ในปี พ.ศ. 2551 โครงการนี้จะนำข้อมูลที่น่าเชื่อถือและชี้ถูกชี้ผิดถึงความถูกต้องของแบบ จำลองของจักรวาลได้อีกมากทีเดียว ซึ่งมันจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติในเชิงกายภาพของ “ค่าคงที่ของจักรวาล” ได้มากขิ่งขึ้น และ สิ่งที่เรียกว่า “ความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ของไอน์สไตน์” อาจจะไม่ยิ่งใหญ่มากอย่างที่กล่าวไว้ก็เป็นได้

ข้อมูลจาก

- http://www.physorg.com/news8385.html
- Journal Astronomy and Astrophysics, University of Toronto


(ภาพข้างบน เป็นภาพแสดงการขยายตัวของเอกภพซึ่งเริ่มตั้งแต่ 15 ล้านปีก่อน เส้นที่มีความโค้งน้อยแสดงถึงอัตราการขยายตัวของเอกภพที่มากขึ้นเรื่อย Image courtesy of NASA/STScI/Ann Feild./)

วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฟิสิกส์คืออะไร

ฟิสิกส์ (อังกฤษ: Physics, กรีก: φυσικός [phusikos], "เป็นธรรมชาติ" และ φύσις [phusis], "ธรรมชาติ") เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับ สสาร [1] และ พลังงาน [2] [3] ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสสารกับพลังงาน รวมทั้งเป็นความรู้พื้นฐานที่นำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิต และเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ ตัวอย่างเช่น การนำความรู้พื้นฐานทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ไปใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ) อย่างแพร่หลาย หรือ การนำความรู้ทางอุณหพลศาสตร์ไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรกลและยาน พาหนะ ยิ่งไปกว่านั้นความรู้ทางฟิสิกส์บางอย่างอาจนำไปสู่การสร้างเครื่องมือใหม่ ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น เช่น การนำความรู้เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม ไปใช้ในการพัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่ใช้ในชีววิทยา เป็นต้น
นักฟิสิกส์ศึกษาธรรมชาติ ตั้งแต่สิ่งที่เล็กมาก เช่น อะตอม และ อนุภาคย่อย ไปจนถึงสิ่งที่มีขนาดใหญ่มหาศาล เช่น จักรวาลจึงกล่าวได้ว่า ฟิสิกส์ คือ ปรัชญาธรรมชาติเลยทีเดียว[ต้องการอ้างอิง]
ในบางครั้ง ฟิสิกส์ ถูกกล่าวว่าเป็น แก่นแท้ของวิทยาศาสตร์ (fundamental science) เนื่องจากสาขาอื่น ๆ ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น ชีววิทยา หรือ เคมี ต่างก็มองได้ว่าเป็น ระบบของวัตถุต่าง ๆ หลายชนิดที่เชื่อมโยงกัน โดยที่เราสามารถสามารถอธิบายและทำนายพฤติกรรมของระบบดังกล่าวได้ด้วยกฎต่าง ๆ ทางฟิสิกส์ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมบัติของสารเคมีต่าง ๆ สามารถพิจารณาได้จากคุณสมบัติของโมเลกุลที่ประกอบเป็นสารเคมีนั้น ๆ โดยคุณสมบัติของโมเลกุลดังกล่าว สามารถอธิบายและทำนายได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ความรู้ฟิสิกส์สาขาต่าง ๆ เช่น กลศาสตร์ควอนตัม, อุณหพลศาสตร์ หรือ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
ในปัจจุบัน วิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีขอบเขตกว้างขวางและได้รับการพัฒนามาแล้วอย่างมาก งานวิจัยทางฟิสิกส์มักจะถูกแบ่งเป็นสาขาย่อยๆ หลายสาขา เช่น ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์อะตอม-โมเลกุล-และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์พลศาสตร์ที่ไม่เป็นเชิงเส้น-และเคออส และ ฟิสิกส์ของไหล (สาขาย่อย ฟิสิกส์พลาสมา สำหรับงานวิจัย ฟิวชั่น) นอกจากนี้ยังอาจแบ่งการทำงานของนักฟิสิกส์ออกได้อีกสองทาง คือ นักฟิสิกส์ที่ทำงานด้านทฤษฎี และ นักฟิสิกส์ที่ทำงานทางด้านการทดลอง โดยที่งานของนักฟิสิกส์ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทฤษฎีใหม่ แก้ไขทฤษฎีเดิม หรือ อธิบายการทดลองใหม่ๆ ในขณะที่ งานการทดลองนั้นเกี่ยวข้องกับการทดสอบทฤษฎีที่นักฟิสิกส์ทฤษฎีสร้างขึ้น การตรวจทดสอบการทดลองที่เคยมีผู้ทดลองไว้ หรือแม้แต่ การพัฒนาการทดลองเพื่อหาสภาพทางกายภาพใหม่ๆ

ฟิสิกส์ เชิงทดลอง กับ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี

งานวิจัยทางฟิสิกส์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนดังนี้
ฟิสิกส์เชิงทดลอง (experimental physics)
คือการสังเกต, การทดลอง และเก็บรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์เพื่อทดสอบกฏของฟิสิกส์ที่มีอยู่ ว่าถูกต้องหรือไม่
ในปัจจุบันโฉมหน้าของการทดลองทางฟิสิกส์แตกต่างจากการทดลองของนักฟิสิกส์ ในอดีตเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วมาก ในสมัยก่อนนับตั้งแต่กาลิเลโอเป็นต้นมา การทดลองเพื่อแสวงความรู้ใหม่ๆที่สามารถพลิกโฉมความรู้เดิมที่มีอยู่อาจทำ ได้โดยการทดลองที่ไม่ซับซ้อนมากอาจดำเนินการทดลองได้โดยคนเพียงคนเดียว แม้กระทั่งช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1840 - 1900 ซึ่งเป็นช่วงบุกเบิกเรื่องแรงแม่เหล็กไฟฟ้าอุปกรณ์ของไมเคิล ฟาราเดย์ก็สามารถสร้างได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเอง แม้กระทั่งอุปกรณ์ที่นำไปสู่การค้นพบอิเล็กตรอนซึ่งก็คือหลอดรังสีแคโทดก็ไม่ได้ซับซ้อน เมื่อเทียบกับหลอดภาพของจอคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ในยุคปัจจุบันการสร้างเครื่องมือเพื่อบุกเบิกพรมแดนใหม่ในฟิสิกส์ โดยเฉพาะในส่วนของวิชาฟิสิกส์อนุภาคและจักรวาลวิทยาเป็นเรื่องที่ สลับซับซ้อนมาก บางโครงการอย่าง Gravity Probe B[1] ซึ่งเป็นดาวเทียมทำหน้าที่ตรวจสอบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ก็ต้องใช้เวลาในการ ดำเนินโครงการถึง 40 กว่าปี (ตั้งแต่เสนอโครงการโดย Leonard Schiff เมื่อปี ค.ศ. 1961 ซึ่งเพิ่งจะได้ปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจรเมื่อปี ค.ศ. 2004 ซึ่งตัว Schiff เองก็ถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านั้นแล้ว) โครงการบางโครงการก็ต้องอาศัยการร่วมมือกันในระดับนานาชาติที่ต้องสนับสนุน ทั้งกำลังคนและงบประมาณ เช่น โครงการเครื่องเร่งอนุภาค Large Hadron Collider (LHC) [2] ที่ CERN (เป็นศูนย์วิจัยที่ปรากฏในตอนต้นของนิยาย เทวากับซาตาน ของ แดน บราวน์) ก็ต้องใช้อุโมงค์ใต้ดินเป็นวงแหวนที่มีเส้นรอบวงถึง 27 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่แพงเกินกว่าที่จะเป็นโครงการที่สร้างโดยประเทศเดียว ในการที่จะเสนอขออนุมัติโครงการเพื่อสร้างการทดลองใหญ่โตที่แสนแพงเช่นนี้ ต้องอาศัยความรู้ทางด้านฟิสิกส์เชิงทฤษฎีช่วยเป็นอย่างมาก หลายครั้งก่อนที่จะเสนอโครงการจะต้องมีการสร้างแบบจำลองที่ละเอียดและซับ ซ้อนเพื่อที่จะทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นจะวัดอะไรได้บ้างและ ผลการทดลองจะออกมาในลักษณะใด ตัวอย่างเช่น เครื่องเร่งอนุภาค LHC ก็ต้องมีการคำนวณมาก่อนว่ามวลของอนุภาคฮิกส์ ทำนายจากแบบจำลองSuper Symmetryจะอยู่ในระดับพลังงานใด จะตรวจวัดได้ไหมเป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่า มวลของอนุภาคฮิกส์ จากแบบจำลองต่างๆ ก็เป็นเพียงหนึ่งในอีกหลายๆ ปรากฏการณ์ที่ฟิสิกส์ทฤษฎีทำทายไว้ล่วงหน้าให้ได้ก่อนสร้างเครื่อง เร่งอนุภาคอย่าง LHC นั่นคือ นักฟิสิกส์ในปัจจุบันต้องมั่นใจถึงระดับหนึ่งว่าผลการทดลองจากโครงการต่างๆ จะต้องคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนไป
จากขนาดของข้อมูลที่ได้ในแต่ละการทดลองใหญ่ๆในปัจจุบัน ทำให้นักฟิสิกส์ไม่สามารถทำอย่างสมัยก่อน เช่น Heinrich R. Hertz (ผู้ค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) ซึ่งสามารถทำการทดลอง นำผลการทดลองไปวิเคราะห์และสร้างทฤษฎีที่อธิบายได้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากการทดลองขนาดใหญ่ๆ เช่น เครื่องเร่งอนุภาค หรือ ดาวเทียมสำรวจอวกาศต่างๆ ต้องอาศัยความร่วมมือกัน ของสถาบันวิจัยหลายๆแห่งทั่วโลก ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกในปัจจุบันที่นักฟิสิกส์บางคนอาจอุทิศเวลาทั้ง หมดให้กับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ซึ่งนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากก่อนที่นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎี (ซึ่งโดยมากจะไม่ทราบรายละเอียดของวิธีการทดลอง) จะนำข้อมูลที่ย่อยแล้วไปตรวจสอบแบบจำลองที่ได้จากทฤษฎีเดิมที่มีอยู่ว่าสอด คล้องหรือแตกต่างอย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การปรับปรุงหรือค้นพบทฤษฎีฟิสิกส์ใหม่ในที่สุด
อย่างไรก็ดีกระแสหลักฟิสิกส์เชิงทดลองใน ปัจจุบันได้เปลี่ยนแนวทางจากการแสวงหาสุดเขตุแดนของทฤษฎีพื้นฐาน มาเป็นการนำเอาทฤษฎีพื้นฐานมาประยุกต์เป็นเทคโนโลยีที่สัมผัสได้ในชีวิต ประจำวันมากกว่า ดังจะเห็นได้จากหัวข้อวิจัย Carbon nanotubes เป็นหัวข้อที่ได้รับการวิจัยอย่างกว้างขวาง และมีคนให้ความสนใจมากที่สุด เมื่อประเมินจาก h index [3] ในการทดลองที่มีขนาดย่อมลงมา เช่นในสาขาสสารควบแน่น หรือ นาโนเทคโนโลยี นักทดลองส่วนใหญ่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เองว่าเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่ และในบางครั้งก็อาจเสนอแบบจำลองใหม่ได้เองด้วย หน้าที่ของนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีจะเป็นผู้เชื่อมโยงข้อเท็จจริงที่ได้จากในแต่ ละการทดลองที่หลากหลายเข้าด้วยกัน และหาแบบจำลองหลักที่สามารถอธิบายการทดลองได้ครอบคลุมกว้างขวางที่สุด ซึ่งรวมถึงการทดลองใหม่ๆที่จะตามมาในอนาตค
ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี (theoretical physics)
คือการสร้างแบบจำลองทางความคิดโดยหลักการทางคณิตศาสตร์ นำไปสู่การสร้างทฤษฎีทางฟิสิกส์ โดยมีการทดลองทดสอบความถูกต้องของทฤษฎีในภายหลัง
นักฟิสิกส์ในยุคปัจจุบัน หาได้ยากมากที่จะมีความชำนาญและเชี่ยวชาญในฟิสิกส์ทั้งสองประเภท (โดยนักฟิสิกส์รุ่นหลังที่มีความสามารถสูงทั้งสองด้าน ที่พอจะยกตัวอย่างได้คือ เอนริโก แฟร์มี) ซึ่งตรงกันข้ามกับนักทฤษฎีเคมีหรือนักทฤษฎีชีววิทยาที่ มักจะเก่งด้านทดลองด้วย

ทฤษฎี หัวข้อหลักในทฤษฎี หลักการที่สำคัญของทฤษฎี
กลศาสตร์ดั้งเดิม กฏการเคลื่อนที่ของ นิวตัน, กลศาสตร์แบบลากรางช์, กลศาสตร์แบบ แฮมิลโตเนียน, ทฤษฎีเคออส, เวลา, การเคลื่อนที่, ความยาว, ความเร็ว, มวล, โมเมนตัม, แรง, พลังงาน, โมเมนตัมเชิงมุม, ทอร์ก, กฏการอนุรักษ์, การสั่นแบบฮาร์โม นิก, คลื่น, งาน, กำลัง,
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ไฟฟ้าสถิต, ไฟฟ้า, แม่เหล็ก, สมการของแมกซ์เวลล์, แสง ประจุไฟฟ้า, กระแสไฟฟ้า, สนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก, สนามแม่เหล็กไฟฟ้า, การแผ่รังสีแม่ เหล็กไฟฟ้า, Magnetic monopole
อุณหพลศาสตร์กลศาสตร์สถิติ และ เครื่องจักรความร้อน, ทฤษฎีจลน์ ค่าคงที่ของโบ ลทซ์มันน์, เอนโทรปี, พลังงานอิสระ, ความร้อน, พาร์ ทิชันฟังก์ชัน, อุณหภูมิ
ทฤษฎีควอนตัม Path integral formulation, สมการของชเรอดิง เงอร์, ทฤษฎีสนามควอนตัม แฮมิ ลโตเนียน, อนุภาคสมมูล, ค่าคงที่ของพลังค์, Quantum entanglement, การสั่น แบบควอนตัมฮาร์โมนิก, ฟังก์ชันคลื่น, Zero-point energy
ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ, ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป Four-momentum, กรอบอ้างอิงเฉื่อย, กาลอวกาศ, ความเร็วแสง, หลักแห่งความสมมูล, สมการสนามของไอ น์สไตน์, ความโค้งของกาล อวกาศ, เทนเซอร์ พลังงาน-โมเมนตัม, Schwarzschild solution, การแปลงแบบ ลอเรนทซ์, หลุมด

 สาขา หลักในฟิสิกส์

งานวิจัยฟิสิกส์ปัจจุบันแบ่งย่อยออกเป็นสาขาต่างๆ ซึ่งศึกษาธรรมชาติในแง่มุมที่ต่างกัน ฟิสิกส์ของสาร ควบแน่น เป็นวิชาซึ่งศึกษาคุณสมบัติของสสารในชีวิตประจำวันเช่นของแข็งและของเหลวจากระดับอันตรกิริยาระหว่างอะตอมขึ้นมา และประเมินกันว่าเป็นสาขาที่กว้างขวางที่สุดของฟิสิกส์ปัจจุบัน สาขาฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ศึกษาพฤติกรรมของอะตอมและโมเลกุล และรูปแบบที่แสงถูกดูดกลืนและปล่อยออกจากอะตอมและโมเลกุล ฟิสิกส์อนุภาค หรือที่รู้จักกันในชื่อฟิสิกส์พลังงานสูง ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของอนุภาคระดับเล็กกว่าอะตอม เช่นอนุภาคพื้นฐานที่ เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสสารทั้งหมด ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ประยุกต์ใช้กฎทางฟิสิกส์ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ ตั้งแต่ดวงอาทิตย์และวัตถุในระบบสุริยะไปจนถึงตัวเอกภพทั้งหมด
สาขา สาขาย่อย ทฤษฎีหลัก หลักการที่สำคัญ
ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ จักรวาลวิทยา, วิทยาศาสตร์ ของดวงดาว, ฟิสิกส์พลาสมา บิ๊กแบง, Cosmic inflation, สัมพัทธภาพทั่วไป, กฎความโน้มถ่วง สากล หลุมดำ, Cosmic background radiation, กาแลคซี่, ความโน้มถ่วง, Gravitational radiation, ดาวเคราะห์, ระบบสุริยะ, ดาวฤกษ์
ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์อะตอม, ฟิสิกส์โมเลกุล, ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์, โฟตอนิกส์ ทฤษฎีควอนตัมทฤษฎีสนามควอนตัม ทฤษฎี อิเล็กโทรดายนามิกส์ควอนตัม อะตอม, การกระเจิง, รังสีแม่เหล็ก ไฟฟ้า, เลเซอร์, โพลาไรเซชัน, เส้นสเปคตรัม
ฟิสิกส์อนุภาค ฟิสิกส์ ของเครื่องเร่งอนุภาค, ฟิสิกส์นิวเคลียร์ The Standard Model, Grand unification theory, ทฤษฎีเอ็ม อันตรกิริยาพื้นฐาน (อันตรกิริยาโน้ม ถ่วง, อันตรกิริยา แม่เหล็กไฟฟ้า, อันตร กิริยานิวเคลียร์อย่างอ่อน, อันตร กิริยานิวเคลียร์อย่างแรง) , อนุภาคพื้นฐาน, ปฏิอนุภาค, สปิน, Spontaneous symmetry breaking, Theory of everything Vacuum energy
ฟิสิกส์ของสสาร ควบแน่น ฟิสิกส์สถานะของ แข็ง, ฟิสิกส์วัสดุ, ฟิสิกส์พอลิเมอร์ BCS theory, Bloch wave, ก๊าซแฟร์มี, ของเหลวแฟร์มี, ทฤษฎีหลายวัตถุ สถานะ (ก๊าซ, ของเหลว, ของแข็ง, การควบแน่นโบ ซ-ไอน์สไตน์, ตัวนำยิ่งยวด, superfluid) , Electrical conduction, Magnetism, Self-organization, สปิน, Spontaneous symmetry breaking

 สาขา ที่เกี่ยวข้อง

มีสาขาวิจัยมากมายที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์และศาสตร์อื่นรวมกัน ตัวอย่างเช่น ชีวฟิสิกส์ เป็นสาขาที่หลากหลายและเกี่ยวข้องกับการศึกษาบทบาทของหลักการทางฟิสิกส์ใน กระบวนการทางชีววิทยา